
วิกฤตสุขภาพจิตของมนุษย์เงินเดือนในยุคที่สภาพแวดล้อมรอบตัวทำให้เรามีความสุขน้อยลงไม่ว่าจะรถติด ฝุ่น PM2.5 สถานการณ์โควิด อาหารแพง หรือ น้ำมันขึ้นราคา เรื่องที่ทุกคนต้องปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตแบบ New Normal แต่สวนทางกับรายได้ที่ไม่ค่อยจะ Normal ซักเท่าไหร่
เราอยู่ในยุคที่เพียงแค่การเดินทางไปทำงานก็ดูดพลังงานชีวิตเราไปเกือบหมด ไหนจะความเครียดจากการทำงานที่มากขึ้นเนื่องจากการลดจำนวนพนักงาน ยังไม่รวมถึงปัญหาค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เช่น ค่าตรวจ ATK ค่าแมสก์ ค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้นตาม
และเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้องค์กรต่างๆไม่สามารถขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานได้ เราไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าความเครียดจากภาระการเงินนั้นส่งผลกระทบกับความสุขของเราในทุกด้าน และยังส่งผลให้กับองค์กรในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่น้อยลงจากสภาวะความเครียดรอบตัวต่างๆ
ดังนั้นถ้าองค์กรไม่สามารถปรับเงินเดือนขึ้นตามได้ องค์กรก็ควรมีการให้ความรู้พนักงานทางด้านการเงิน การวางแผนการเงินในอนาคต หรือการลงทุนที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้พนักงาน หรือหากพนักงานมีปัญหาความเครียดจากการทำงาน องค์กรก็ควรมีสวัสดิการที่ช่วยดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงาน เช่น การให้เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น การให้วันลาในวันเกิด หรือ การให้ความรู้ในการรับมือความเครียด
หากองค์กรไม่ทำอะไรสักอย่างกับปัญหาเหล่านี้ องค์กรของคุณอาจจะเจอกับปัญหาสมองไหลหรือพนักงานที่ความสามารถย้ายไปยังองค์กรที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ให้แก่พนักงานได้ อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีกทั้งเสียค่าการเทรนนิ่งพนักงานที่เข้ามาใหม่
“When employees are happy they are your best ambassadors” James Sinegal
No comment yet, add your voice below!